เมนู

เสร็จการแสดงพระปาฏิโมกข์แล้ว เมื่อไม่เธอถือคำพูดของผู้ปรารถนา
ดี คิดว่า ในที่ ๆ ไปแล้ว เราถูกภิกษุหนุ่ม และสามเณรถามแล้ว
ควรจักบอกอาการที่เราอาศัยหมู่บ้านอยู่ ดังนี้แล้ว จึงไปเที่ยว
บิณฑบาตในบ้าน ยึดเอานิมิต ในวิสภาคารมณ์ (อารมณ์ที่เป็น
ข้าศึก) แล้วไปยังที่อยู่ของตน จำผ้าที่นางนุ่งได้ พลางถามว่า ท่าน
ขอรับ ท่านได้ผ้านี้มาอย่างไร ? รู้ว่านางตายแล้ว คิดว่า หญิงชื่อเห็น
ปานนี้ตายเพราะเรา ดังนี้ ถูกไฟคือราคะที่ตั้งขึ้นแผดเผาก็สิ้นชีวิตไป.
บัณฑิตพึงทราบว่า รูปของหญิงครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ แม้ด้วย
อาการอย่างนี้.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2


สูตรที่ 2

เป็นต้น ท่านกล่าวแล้ว ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้หนักในเสียง
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถีสทฺโท ได้แก่ เสียงพูด ขับร้อง
และประโคม อันมีจิตเป็นสมุฏฐานของหญิง. อีกอย่างหนึ่ง เสียงพิณ,
ขลุ่ย, สังข์, บัณเฑาะว์เป็นต้น ที่สำเร็จด้วยการประกอบของหญิง
ที่มีเครื่องนุ่งห่มบ้าง ที่มีเครื่องประทับบ้าง พึงทราบว่า เสียงของหญิง
ทั้งนั้น. จริงอยู่ เสียงหญิงทั้งหมดนั้น ย่อมครองงำจิตของบุรุษตั้ง
อยู่ ฉะนี้แล. ในสูตรนั้น พึงทราบเรื่องปูทอง นกยูงทอง และภิกษุ
หนุ่มเป็นต้น.
ดังได้สดับมาโขลงพระยาช้าง โขลงใหญ่ อาศัยซอกเขาอยู่.
และในที่ไม่ไกลซอกเขานั้น มีสระขนาดใหญ่สำหรับใช้สอย. ในสระ

นั้น มีปูทองตัวล่ำสัน ทองนั้นเอาก้ามจับเท้าสัตว์ที่พากันมาลงสระนั้น
เหมือนจับด้วยคีมแล้วให้อยู่ในอำนาจของมันแล้วทำให้ตาย. พระยาช้าง
จ้องคอยโอกาสปูทองนั้น ตั้งช้างใหญ่เชือกหนึ่งให้เป็นหัวหน้าเที่ยวไป.
วันหนึ่ง ปูนั้นจับพระยาช้างนั้นได้. พระยาช้างผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง
และสติ คิดว่า ถ้าเราจักร้องเพราะกลัวไซร้ ช้างทั้งหมดจะไม่เล่น
ตามความชอบใจ จักหนีไปเสีย จึงได้ยืนนิ่งอยู่นั่นเอง ครั้นรู้ว่าช้าง
ขึ้นหมดแล้ว จึงร้องเพื่อให้ภรรยาของตนรู้ว่า ตนถูกปูทองจับไว้ จึง
กล่าวอย่างนี้ว่า
ก็ปูสีดังทอง มีตาโปน มีกระดองแทนหนัง
อาศัยอยู่ในน้ำ ไม่มีขน เราถูกมันหนีบ ร้องไหน
ขอความสงสาร เจ้าอย่าละทิ้งข้า ผู้ปานชีวิต


ภรรยาได้ฟังดังนั้น รู้ว่าสามีถูกปูหนีบ จึงเจรจากับช้างบ้าง
กับปูบ้าง เพื่อให้สามีพ้นจากภัยนั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า

พ่อเจ้าเอ๋ย ข้าจักไม่ละเจ้าผู้เป็นกุญชรชาติ
มีอายุ 60 ปี เจ้าเป็นที่รักยิ่งของข้า บนแผ่นดิน
ซึ่งมีทวีปทั้ง 4 เป็นขอบเขต ปูเหล่าใดอยู่ใน
สมุทร ในแม่น้ำคงคา และในแม่น้ำยมุนา ท่านเป็น
สัตว์เกิดในน้ำผู้ประเสริฐสุดของปูเหล่านั้น โปรด
ปล่อยสามีของฉันผู้ซึ่งร้องไห้อยู่.


ปูคลายการหนีบให้เพลาลง พร้อมกับได้ยินเสียงของหญิง.
ลำดับนั้นพระยาช้าง คิดว่า นี้แล เป็นโอกาสช่องว่างของมัน จึงยัน

เท้าข้างหนึ่งไว้ โดยอาการที่ถูกหนีบอยู่นั่นแล ยกเท้าที่ 2 ขึ้น เหยียบ
กระดองหลังปูนั้น ทำให้แหละละเอียด กระชากปูนั้นเหวี่ยงขึ้นบนฝั่ง.
ลำดับนั้น ช้างทั้งหมดชุมนุมกันทำปูนั้นให้แหลกละเอียดด้วยคิดว่า
มันเป็นไพรีของพวกเรา. เสียงของหญิง ครอบงำจิตของปูทองด้วย
ประการฉะนี้ก่อน.

ฝ่ายนกยูงทอง เข้าไปยังป่าหิมพานต์ อาศัยชัฏแห่งภูเขาใหญ่อยู่
แลดูดวงอาทิตย์ ในเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นตลอดกาลเป็นนิตย์ เมื่อจะ
กระทำการรักษาตนจึงกล่าวอย่างนี้ว่า

พระอาทิตย์ เป็นดวงตาโลก เป็นราชาเอก
มีสีเหลืองดังทอง ทำพื้นแผ่นดินให้สว่างไสว
อุทัยขึ้นมา ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้า ขอนอมน้อม
พระอาทิตย์นั่นซึ่งมีสีเหลืองดังทอง ทำพื้น
แผ่นดินให้สว่างไสว ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้
อันท่านคุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุข
ตลอดวัน พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้จบเวท
ในธรรมทั้งปวง ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพราหมณ์
เหล่านั้น และพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น โปรด
รักษาข้าพเจ้าด้วย ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จง
มีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของ
ข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อม
ของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว ความ

นอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติ (ธรรมเครื่อง
หลุดพ้น).


นกยูงนั้น ได้กระทำปริตร อันนี้แล้ว จึงเที่ยวแสวงอาหาร.
นกยูงทองนั้น เที่ยวหากินตลอดวัน ในเวลาเย็นจึงเข้าไปที่อยู่
จึงแลดูดวงพระอาทิตย์ ซึ่งอัสดงคต ได้กล่าวชมเชยอย่างนี้ว่า

พระอาทิตย์เขนดวงตาโลก เป็นราชาเอก มีสี
เหลืองดังทอง ทำพื้นแผ่นดินให้สว่างไสว ย่อม
อัสดงคตไป ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
พระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีเหลืองดังสีทอง ทำพื้น
แผ่นดินให้สว่างไสว ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อัน
ท่านคุ้มครองแล้ว ในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอด
คืน พราหมณ์เหล่าใด ผู้จบแวทในธรรมทั้งปวง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อม พราหมณ์เหล่านั้น และ
พราหมณ์เหล่านั้น โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วย
ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระ-
โพธิญาณ ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่
ท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของ
ข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติ (ธรรนเครื่องหลุดพ้น)


นกยูงนั้นได้กระทำปริตรนี้แล้วจึงสำเร็จการอยู่แล.
นกยูงนั้น ยับยั้งอยู่ตลอด 700 ปี โดยทำนองนี้นั้นแล อยู่มาวันหนึ่ง

ได้ยินเสียงนางนกยูง ก่อนแต่การกระทำปริตร ไม่ยอมระลึกการ
กระทำปริตร จึงติดบ่วงของนายพราน ที่พระราชาส่งไป เสียงของ
หญิง ครอบงำจิตของนกยูงทองตั้งอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล. ได้ยินว่า
ภิกษุหนุ่มผู้อยู่ที่ฉาตกบรรพต และภิกษุหนุ่มผู้อยู่ที่สุธามุณฑกวิหาร
ได้ยินเสียงของหญิงย่อยยับไปแล้ว แล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า อิตฺถิคนฺโธ ได้แก่
คันธายตนะ ของหญิงมีสมุฏฐาน 4. กลิ่นกายของหญิงนี้นั้น ย่อมเหม็น
แต่กลิ่นเครื่องประเทืองผิวเป็นต้นภายนอก ที่ชโลมกายท่านประสงค์
เอาในที่นี้. จริงอยู่หญิงบางคนมีกลิ่นเหมือนกลิ่นม้า บางคนมีกลิ่น
เหมือนกลิ่นแพะ บางคนมีกลิ่นเหมือนเหงื่อไคล บางคนมีกลิ่นเหมือน
กลิ่นเลือด คนโง่บอดบางคน รักใคร่ในหญิงเห็นปานนั้น นั่นแล. ส่วน
กลิ่นจันทน์ ฟุ้งออกจากกาย และกลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจากปากของ
หญิง นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ์ กลิ่นนี้ไม่มีแก่หญิงทุกจำพวก
เฉพาะกลิ่นเครื่องประเทืองผิวเป็นต้นภายนอก ท่านประสงค์เอาในที่นี้
ส่วนสัตว์เดียรัจฉาน มีช้าง ม้า และโคเป็นต้น ย่อมเดินไปได้สิ้นทาง 1
โยชน์ 2 โยชน์ 3 โยชน์ และ 4 โยชน์ ตามกลิ่นระดูของสัตว์
เดียรัจฉานตัวเมีย. ไม่ว่ากลิ่นกายหญิง หรือกลิ่นเครื่องนุ่งห่มที่หญิงนุ่ง